top of page
Writer's pictureIDEAL SMILE

การขูดหินปูน วิธีกำจัดคราบแน่นหนึบบนฟัน


หากรอยนิ้วมือที่คนร้ายทิ้งไว้

เป็นหลักฐานสำคัญที่จะหาตัวผู้กระทำผิด คราบหินปูน

ก็คือหลักฐานสำคัญที่แสดงว่า

เจ้าของช่องปากนั้นดูแลฟันตัวเองได้ไม่ดี….

(สำบัดสำนวนขนาดนี้ ปรบมือให้หมอสิครับ รออะไร!)


ทำไมหมอเกริ่นแบบนี้..เพราะว่า

คราบหินปูนหรือหินน้ำลายไม่ใช่สิ่งที่เกิดขี้นได้ปกติ

แต่เมื่อไรที่คนไข้ดูแลฟันไม่ดี แปรงฟันไม่ถูกวิธี หรือไม่ใช้ไหมขัดฟัน

โอกาสเกิดคราบหินปูนจนต้องให้หมอขูดหินปูนให้มีแน่นอน


คราบหินปูนหรือหินน้ำลาย (Dental Tartar) คือ

คราบแข็งที่ติดตามตัวฟัน พบบ่อยในฟันหน้าล่าง

ด้านในอาจพบที่บริเวณเหนือเหงือกหรือใต้เหงือก

มักมีสีเหลืองถึงน้ำตาลดำ

เกิดจากการสะสมของคราบอาหารหรือคราบจุลินทรีย์ที่แปรงออกไม่หมด

ถ้าคนไข้มีหินปูนเยอะ จะทำให้เหงือกอักเสบได้

เพราะหินปูนเป็นบ้านดี ๆ

ของเชื้อแบคทีเรียที่สร้างสารพิษออกมาทำอันตรายต่อเหงือกและละลายกร

ะดูกรากเบ้าฟันของเรานี่เอง ซึ่งจะทำให้มีเลือดออกขณะแปรงฟัน

มีกลิ่นปาก เหงือกบวมเป็นหนองและฟันโยก ถ้าฟันโยกมาก ๆ

อาจจะต้องถอนฟัน เพราะกระดูกเบ้ารากฟันสร้างทดแทนไม่ได้นะครับ


หินปูน รักษาเองด้วยการแปรงฟันไม่ได้

ต้องให้ทันตแพทย์กำจัดออกด้วยการขูดหินปูนเท่านั้น!


การขูดหินปูน (Dental Scaling, Cleaning)

เป็นวิธีกำจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่ตามบริเวณฟันและซอกฟัน

มีเครื่องมือใช้ขูด 2 ชนิดคือ

ขูดด้วยมือโดยใช้เครื่องมือทันตกรรม (Hand scaler)

กับขูดด้วยอุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasonic Scaler)

ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้พลังงานกลในการกระแทกให้หินปูนหลุดออกจากผิวฟัน

ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทันตแพทย์มักใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน

เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด


ขั้นตอนและวิธีการขูดหินปูน

การขูดหินปูนเป็นวิธีรักษาทางทันตกรรมที่ทำได้ที่คลีนิก

ใช้เวลาไม่นานและกลับบ้านได้ทันทีเมื่อขูดหินปูนเสร็จ

สิ่งที่คนไข้ต้องเตรียมตัวเมื่อจะรับการขูดหินปูนคือ

ทำความสะอาดช่องปากมาก่อนที่พบทันตแพทย์

หรือหากใครที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ควรหยุดใช้ยาก่อน 7-10 วัน


ซึ่งการขูดหินปูนแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 – ตรวจสุขภาพฟัน

ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพฟันโดยรวมด้วยกระจกขนาดเล็กส่องดูรอบ ๆ

ฟันและเหงือก เพื่อหาสัญญาณของเหงือกอักเสบ

หรือปัญหาสุขภาพฟันอื่น ๆ

ขั้นตอนที่ 2 – ขูดหินปูน

ทันตแพทย์จะเริ่มใช้เครื่องมือในการขูดหินปูนและคราบแบคทีเรียออกจาก

บริเวณใกล้ ๆ กับเหงือก และระหว่างเหงือกกับฟัน

ซึ่งอาจทำให้คนไข้ได้ยินเสียงขูด จะใช้เวลานานหรือไม่นั้น

ขึ้นอยู่กับปริมาณหินปูนและบริเวณที่เกิดหินปูน

ขั้นตอนที่ 3 – ขัดทำความสะอาดฟันด้วยผงขัดฟัน

หลังจากขูดหินปูนออกหมดแล้ว

ทันตแพทย์จะใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าที่ทำให้เกิดเสียงคล้ายเสียงกรอฟัน

ทำความสะอาดและกำจัดคราบหินปูนที่ตกค้างหลังจากการขูดออกไป

ทั้งนี้การใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าจะใช้ควบคู่กับผงขัดฟัน

ที่ใช้สำหรับการขัดฟันโดยเฉพาะ

ขั้นตอนที่ 4 – การใช้ไหมขัดฟันโดยทันตแพทย์

เมื่อขัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ทันตแพทย์จะใช้ไหมขัดฟันเพื่อช่วยตรวจสอบว่ามีบริเวณร่องฟันหรือส่วน

ใดของเหงือกที่มีปัญหา ขั้นตอนนี้อาจทำให้เลือดออกจากเหงือกได้

ขั้นตอนที่ 5 – บ้วนปาก เพื่อล้างเศษที่ยังตกค้างจากการขูดหินปูน

เพื่อเข้าสู่กระบวนการขั้นต่อไป

ขั้นตอนที่ 6 – เคลือบฟลูออไรด์

เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการขูดหินปูน เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ

โดยใส่สารสำหรับเคลือบฟันลงในถาดเคลือบฟลูออไรด์ที่มีลักษณะคล้ายถาดพิมพ์ฟัน

ให้ผู้ป่วยกัดไว้ประมาณ 1 นาทีแล้วนำออก

เป็นอันเสร็จสิ้นการขูดหินปูน


การดูแลรักษาหลังจากขูดหินปูน

หลังจากการขูดหินปูนแล้ว คนไข้อาจรู้สึกเจ็บปวดอย่างน้อย 1-2 วัน

และอาจมีอาการเสียวฟันประมาณ 1 สัปดาห์

บางครั้งหากหินปูนสะสมอยู่มาก อาจทำให้เหงือกบวม รู้สึกเจ็บเวลากด

หรือมีเลือดออกได้ หากมีเลือดออกและรู้สึกเจ็บติดต่อกันเป็นเวลานาน

ควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูความผิดปกติอีกครั้ง


ถ้าไม่อยากทิ้งหลักฐานว่าเป็นคนรักษาฟันไม่ดี

จนเกิดคราบหินปูนหนาเตอะ จงหมั่นแปรงฟันเช้า-เย็น

ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน และพบทันตแพทย์เป็นประจำด้วยนะครับ

Комментарии


bottom of page