top of page
Writer's pictureIDEAL SMILE

เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) เครื่องมือทันตกรรม แก้ปัญหาบดเคี้ยว


สำหรับคนไข้ที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร

หรือมีนิสัยนอนกัดฟัน มีเสียงคลิกและติดขัดเวลาอ้าหรือหุบปาก

เฝือกสบฟัน เป็นเครื่องมือทันตกรรมที่ช่วยคุณได้ในเรื่องเหล่านี้ครับ


เฝือกสบฟัน หรือ Occlusal Splint คือ

เครื่องมือที่ใช้ใส่ในช่องปากเพื่อป้องกันการสึก การแตกหักของฟัน

การกัดริมฝีปาก และความบาดเจ็บอื่น ๆ ต่อปากและฟัน

ด้วยการกระจายแรงสบฟันอย่างเหมาะสม

ทำให้ลดแรงที่กล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกร


เฝือกสบฟันแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่


1. เฝือกสบฟันชนิดอ่อน (Soft Occlusal splint) ทำจากวัสดุนิ่ม

ทำได้ง่าย และใช้ง่าย มักใช้ในกรณี คนไข้อายุน้อย

ขากรรไกรมีการเจริญเติบโต ใช้บำบัดฉุกเฉินในคนไข้ที่มีอาการปวดมาก

หรือในนักกีฬาบางประเภทเพื่อป้องกันและลดแรงที่จะโดนต่อฟัน

เฝือกสบฟันชนิดอ่อน มีอายุการใช้งานสั้น ไม่ทนทาน จึงต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ


2. เฝือกสบฟันชนิดแข็ง (Hard Occlusal splint)

ทำมาจากอคริลิกแข็งใส มีการออกแบบที่ต่างกันตามความเหมาะสม

เหมาะสำหรับคนที่นอนกัดฟัน ขบฟันแน่น

หรือมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

จะช่วยป้องกันฟันสึกและลดแรงที่เกิดขึ้นกับข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อ

ในขณะนอนหลับได้


เฝือกสบฟันชนิดแข็งมีอายุการใช้งานนานกว่าชนิดอ่อน

ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือตำแหน่งของฟัน

และไม่มีข้อห้ามในการใช้ ยกเว้นกรณีที่ผู้ป่วยแพ้อะคริลิก


ข้อแนะนำในการใช้เฝือกสบฟัน


1.ควรใส่เฝือกสบฟันเฉพาะเวลากลางคืนหรือตามที่ทันตแพทย์ผู้รักษา

กำหนด โดยปกติเมื่อเริ่มใส่จะรู้สึกตึงประมาณ 2-3 นาที

หากมีอาการเจ็บฟันจากการใส่เฝือกสบฟันควรถอดออกและรีบมาพบ

ทันตแพทย์เพื่อปรับแต่งแก้ไข

2. ขณะใส่เฝือกสบฟันอาจมีน้ำลายมากกว่าปกติในช่วงแรก

3. เมื่อถอดเฝือกสบฟันออก อาจรู้สึกว่าการสบฟันเปลี่ยนไป

หรือกัดฟันไม่เหมือนเดิม ไม่ต้องกังวลนะครับ

สักครู่อาการเหล่านี้จะหายเอง

4. ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งานด้วยน้ำสะอาด

5. เก็บในกล่องหรือภาชนะ ที่มีสำลีชุบน้ำทุกครั้ง

เพื่อป้องกันเครื่องมือผิดรูป หรือแตกง่าย

6. สามารถทำความสะอาดร่วมกับการใช้เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม

เพื่อขจัดคราบฝังแน่น


เฝือกสบฟันไม่ได้เกิดมาสำหรับทุกคน

จึงแนะนำให้มาพบทันตแพทย์เฉพาะบดเคี้ยวจะดีที่สุด

ส่วนจะเลือกแบบไหน ออกแบบอย่างไร ใส่ฟันบนหรือล่างนั้น

ต้องพิจารณาปัญหาและตัดสินใจร่วมกันระหว่างทันตแพทย์กับคนไข้อีกทีครับ

Comments


bottom of page